โฟมปรับระดับ คืออะไร
โฟม ที่เอาไว้เปลี่ยนการปรับระดับพื้นแบบเดิม ๆ ที่ทำให้ง่าย และ มีความรวดเร็ว ด้วยการใช้โฟมที่เป็นแผ่นในการปรับระดับพื้นบ้าน สระว่ายน้ำ ทำให้ช่วยลดค่าแรงงาน งานเสร็จไว แล้วยังช่วยลดน้ำหนักของโครงสร้าง พร้อมยังช่วยเพิ่มฉนวนกันความร้อนได้อีกด้วย ผลพลอยได้จากการที่เราใช้คือ ช่วยลดภาระในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้าง และ ส่วนที่ไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้เลยคือ ที่ต้องเอาไปรองรับน้ำหนักที่นอกจากจะเอาคอนกรีตปูทับลงแผ่น หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่วางบนพื้น นั่นเอง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะนำ โฟม ปรับระดับไปใช้งาน
โดยทั่วไปนั้นเราอาจจะมีความคุ้นเคยกับการปรับระดับพื้น โดยการใช้รถบรรทุกดิน และ ทรายที่เป็นคันรถเพื่อใช้ในการถมที่ดิน และ เกลี่ยเพื่อปรับหน้าดินให้มีความเรียบ แต่เรามีความเชี่ยวชาญกับการเลือกใช้โฟมก่อสร้างกับโฟมปรับระดับพื้น เพราะจะช่วยส่งผลลัพธ์ที่ดีที่ทำให้สร้างความแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด เริ่มตั้งแต่เรื่องของการขนส่งทำให้ครอบคลุมไปตลอดจนการก่อสร้างหน้าไซส์งานต่าง ๆ จากลักษณะที่มีความสำคัญของโฟม อีพีเอส ที่ได้นำมาใช้เกี่ยวกับงานก่อสร้าง
จะต้องมีความหนาแน่นสูงแต่อย่างไรก็ตามด้วยความหนาแน่นที่สูง และ มีขนาดใหญ่ของโฟม ยังคงทำให้โฟมนั้นมีน้ำหนักที่เบามากกว่าวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ในขนาดที่เท่ากัน และ ความหนาแน่นแบบพิเศษนี้เองส่งผลให้โฟมชนิดนี้มีความแข็งแรงแต่ก็มีความยืดหยุ่น แล้วที่สำคัญยังสามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึงประมาณ 20 ตัน/ตารางเมตร จากลักษณะคุณสมบัติของโฟมทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำไปใช้งานปรับระดับพื้นตั้งแต่สระว่ายน้ำ บ้านพัก หรือ อาคารพาณิชย์
ในงานออกแบบทางภูมิสถาปัตย์ หรือ งานในเชิงวิศวกรรมโยธา ได้แก่ การนำโฟมปรับระดับพื้นก่อการสร้างถนน สิ่งที่เราจะได้รับจากการเลือกใช้โฟมปรับระดับพื้น ก็คือการขนส่ง และ การขนย้ายเป็นไปได้ง่าย มีความสะดวก มีความสะอาด และ ยังมีความรวดเร็ว ถัดมาคือในส่วนของการก่อสร้าง ด้วยขนาดที่ใหญ่ และ มีคุณสมบัติที่เฉพาะของโฟมเมื่อนำมาปูรองพื้นไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดิน หรือ พื้นชั้นบนของอาคาร เพื่อช่วยทดแทนการใช้ดินกับทราย และ คอนกรีตก็เป็นไปได้อย่างง่ายอีกด้วย
สำหรับกรณีที่นำโฟมปรับระดับพื้นชั้นบนอาคารยังเป็นการช่วยลดภาระในการรองรับน้ำหนักของโครงสร้างได้ดีอีกด้วย ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลลัพธ์จากการเลือกใช้โฟมปรับระดับพื้น ที่ช่วยในเรื่องของการประหยัดต้นทุนแล้วยังช่วยประหยัดในเรื่องของระยะเวลากับแรงงานที่ใช้ในการขนส่งระหว่างการก่อสร้าง
การติดตั้ง โฟม ปรับระดับพื้น
- ปรับระดับพื้นให้ใช้โฟม อีพีเอช ร่วมกับแผ่นพื้นสำเร็จได้เพื่อที่จะช่วยลดน้ำหนักของอาคาร โดยทำงานการวางแผ่น อีพีเอช ลงบนแผ่นพื้นสำเร็จแล้วถึงจะใช้เหล็กไวร์เมชวางเพื่อที่จะเสริมความแข็งแรง หลังจากนั้นถึงจะทำการเทคอนกรีตที่มีความหนาประมาณ 5 ซม.
- สามารถใช้ในการปรับระกับพื้นบ้าน หรือ แก้ปัญหาพื้นมีการทรุด สิ่งหนึ่งที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกเลยก็คือ การรองรับน้ำหนักของอาคาร วัสดุโฟมแผ่นเป็นที่น่าสนใจในการนำมาถมพื้นที่เพื่อปรับระดับ นำมาใช้ปรับระดับก่อนที่จะทำการเทปูนซึ่งนอกจากจะมีความสะดวกรวดเร็วขึ้นแล้วยังจะมีน้ำหรักที่น้อยมากจนไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อโครงสร้างได้อีกด้วย
- แผ่นจะมีน้ำหนักที่เบา มีความยืดหยุ่นที่ต่ำ สามารถรองรับน้ำหนักได้มากแต่ก็จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่น นิยมนำมาใช้แทนวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ดิน ทราย และ คอนกรีต ในการถมพื้นที่ แล้วใช้เป็นไส้ผนังแทนวัสดุก่อสร้างด้วยนั้นเอง
ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการที่จะปรับระดับพื้นที่ประมาณ 10 ซม. ให้ทำยังไง
- ให้เลือกใช้โฟมที่มีความหนาอยู่ที่ 5 ซม.
- ให้เทปูนอีกประมาณ 5 ซม เราก็จะได้พื้นที่ที่ปรับระดับแล้ว 10 ซม.
ขั้นตอนการปรับพื้น
- ให้วางแผ่นตามระดับความสูงที่เราต้องการปรับระดับพื้นหน้างานด้วยขนาดโฟมที่นิยมนำมาปรับระดับพื้น ต้องมีความหนาตั้งแต่ 50 มม. (5 ซม.) / 75 มม. (7.5 ซม.) / 100 มม. (10 ซม.)
- ในกรณีพื้นที่ที่มีความกว้าง ให้ทำการแบ่งพื้นที่ออกเป็นช่วง ๆ อาจจะใช้อิฐมวลเบาแล้วกั้นไม้แบบเพื่อจะตัดช่วง ปูนสำหรับป้องกันการแตกร้าวเป็นแนวยาว
- กั้นขอบปูนโดยรอบพื้นที่ที่เราต้องการจะเทปูนเพื่อที่จะทำการปรับระดับ ให้ก่อให้สูงกว่าแผ่นโฟมที่เราวางเอาไว้โดยเผื่อความสูงสำหรับฉาบพื้นภายหลังจากการเทพื้นปูนให้มีความพอดีกันโดยอาจจะใช้การก่อช่วยในการกั้นขอบได้ด้วย
- ให้วางตะแกรงเหล็ก หรือ ไวร์เมช เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการรองรับน้ำหนัก ป้องกันการแตกร้าวได้ในอนาคต แล้วยังติดตั้งให้มีความยึดแน่นกับแผ่น แต่ต้องยกขึ้นประมาณ 1 – 2 นิ้ว จากพื้นแผ่น
- ถ้าหากเป็นงานห้องน้ำ ห้องครัว และ ห้องซักล้าง อาจจะกรีดแผ่นเพื่อจะวางระบบท่อได้
- ให้ทำการเทพื้นตามปกติ เท่านี้ก็จะเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang