ลดต้นทุน
ประหยัดทั้งอิฐ ประหยัดทั้งปูน ประหยัดเวลาในการติดตั้ง ไม่ต้องใช้แรงงานเยอะ นอกจากนั้นยังเคลื่อนย้ายได้ง่าย
โฟมก่อสร้าง คือโฟมที่ถูกออกแบบและผลิตมาเพื่อใช้กับงานก่อสร้างโดยเฉพาะ โดยจะมีคุณสมบัติที่วัสดุก่อสร้างชนิดอื่นไม่มี เช่น กันความร้อนได้ ไม่ลามไฟ น้ำหนักเบา ง่ายต่อการก่อสร้าง เป็นต้น
เม็ดโฟม (Foam bead) เกิดจากเม็ดพลาสติกที่ถูกทำให้ฟูขึ้น ด้วยก๊าซ เพ็นเทน หรือภาษาอังกฤษว่า Pentane มีชื่อทางเคมีว่า C5H12 ซึ่งทำให้เมื่อได้รับความร้อนจากกระบวนการผ่านไอน้ำ (Steaming) ก็จะเกิดการขยายตัว และกลายเป็นเม็ดโฟมสีขาว ๆ ที่เราเห็นกันทั่วไปนั่นเอง
โฟมถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้งงานตกแต่งเล็ก ๆ ไปจนถึงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ และเมื่อนำไปผสมกับซีเมนต์ก็จะช่วยลดเนื้อซีเมนต์ที่ใช้ลงได้ ทำให้บางครั้งโฟมก็เป็นที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างที่ไม่ได้ต้องรับน้ำหนักมากนัก และยังเสริมความเป็นฉนวนความร้อนให้ในตัวด้วย จึงใช้กันอย่างแพร่หลายในอาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย
EPS คือชื่อย่อมาจากคำว่า Expandable Polystyrene สารเพิ่มความเป็นฉนวนความร้อน เพราะในเม็ดโฟมมีการเก็บอากาศไว้ ซึ่งประหยัดพลังงาน และต้นทนได้เยอะ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งมีอยู่ 4 อย่าง ดังนี้
Safety Quality Standard สามสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญแห่งงานก่อสร้างทุกรูปแบบ หากจะเอาโฟมไปสร้างบ้าน ก็ควรทราบเกี่ยวกับมาตรฐาน และแหล่งที่มาของวัสดุ
สมการที่จะบ่งบอกว่าห้องจะเป็นห้อง บ้านจะเป็นบ้าน ซึ่งในบ้านก็จะถูกแบ่งออกไปเป็นห้อง ๆ โดยในแต่ละห้องก็ใช้งานไม่เหมือนกันแล้วตามเจ้าของบ้าน และสามชิกจะใช้ทำอะไร เช่น ห้องนอน ฟิตเนส สวนเล็ก ๆ ห้องครัว ห้องสังสรรค์ ห้องทำงาน หรือห้องประชุมทางธุรกิจ และอีกมากมาย
การที่บ้านสักหลัง อาคารสักที่ จะสร้างเสร็จสมบูรณ์แบบ ก็ย่อมต้องผ่านการออกแบบที่เป็นไปได้จริง แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ภายใต้งบประมาณที่กำหนด โดยปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ทั้งสองอย่างนี้ไปด้วยกันได้ก็คือ วัสดุที่จะนำมาใช้ในงานก่อสร้าง
หากโดนไฟ จะติดไฟ และจะไหม้ลุกลามไปทั่วทั้งแผ่นโฟม
โฟมชนิดนี้ก็ยังคงติดไฟได้ แต่จะไม่ลามไฟ กล่าวคือไฟจะไม่ลุกลามต่อ และดับได้เองภายในเวลาไม่กี่วินาที
ความหนา (นิ้ว) | น้ำหนัก (ปอนด์) | ขนาด | ราคา |
1 | 0.55 | 60 cm x 120 cm | 26 |
1 | 0.55 | 1.2 m x 3 m | 130 |
1 | 0.80 | 60 cm x 120 cm | 37 |
1 | 0.80 | 1.2 m x 3 m | 185 |
1 | 1.0 | 60 cm x 120 cm | 40 |
1 | 1.0 | 1.2 m x 3 m | 200 |
1 | 1.25 | 60 cm x 120 cm | 50 |
1 | 1.25 | 1.2 m x 3 m | 250 |
1 | 1.5 | 60 cm x 120 cm | 6 |
1 | 1.5 | 1.2 m x 3 m | 300 |
1 | 20. | 60 cm x 120 cm | 80 |
1 | 2.0 | 1.2 m x 3 m | 400 |
ผลการทำสอบคุณสมบัติตามมาตรฐานที่ระบุไว้ดังตาราง ที่ผ่านการวิเคราะห์และทดสอบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
คุณสมบัติ |
มาตรฐาน | หน่วย | ผลการทดสอบ เพื่อดูความหนาแน่น | ||
1 | 1.5 |
2 |
|||
นำความร้อน |
ASTM C177 | W/m*K | 0.0321 | 0.029 | 0.0272 |
ไม่ลามไฟ | JIS A9511 | Seconds | 3.5 | 2.47 |
2.07 |
ดูดซึมน้ำต่ำ (4วัน) |
ASTM D570 | อัตราร้อยละการเปลี่ยนแปลงมวล | 11.1 | 1.09 | 1.09 |
ต้านทานแรงกดอัด | ASTM D1621 | กิโลนิวตัน/ตารางเมตร | 90.5 | 139.2 |
213.1 |
ต้านทานแรงอัด |
ASTM C203 | กิโลนิวตัน/ตารางเมตร | 173.4 | 247.5 |
316.7 |
ความหนาแน่นของเนื้อโฟม (Foam density) เรียกกันอีกอย่างว่าความแข็งของเนื้อโฟม เมื่อจับ หรือสัมผัส จะรู้สึกได้ถึงความแข็ง หรือความนิ่ม ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละแบบ โดยความหนาแน่นน้อยที่สุด จะอยู่ที่ 0.6 ปอนด์ (lb) และไล่ขนาด 0.8 1.0 1.25 1.5 ไปจนถึงเนื้อโฟมที่แข็งที่สุด คือความหนาแน่น 2.0 ปอนด์ (lbs) โดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ โฟม 0.6 ปอนด์ จะมีสัมผัสที่เหมือนโฟมลอยกระทง ที่มีความนิ่มที่สุด หากโฟมที่แข็งที่สุด หรือ โฟม 2.0 ปอนด์ จะมีความแข็งที่เทียบเท่ากับระดับไม้อัด
ใช้งานได้ในทุกส่วนของบ้าน ยกเว้นงานโครงสร้าง
กันความร้อนได้ดี เพราะเป็นฉนวนความร้อน ช่วยประหยัดค่าไฟ และพลังงาน ทั้งยังยืดอายุเครื่องปรับอากาศให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น
เลือกซื้อวัสดุในงานโครงสร้าง คลิกที่นี่
ใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ตัดเจาะให้ได้รูปร่างที่ต้องการง่าย
ประหยัดทั้งอิฐ ประหยัดทั้งปูน ประหยัดเวลาในการติดตั้ง ไม่ต้องใช้แรงงานเยอะ นอกจากนั้นยังเคลื่อนย้ายได้ง่าย
สำหรับงานก่อสร้างส่วนใหญ่โฟมที่ใช้จะใช้เกรดไม่ลามไฟ เพื่อไม่เป็นต้นเหตุของอัคคีภัย