การเลือกซื้อสีทาบ้าน สีทาอาคาร มีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่
สีทาอาคาร หรือ สีทาบ้าน ถ้าเราต้องการเลือกซื้อระหว่างสี 2 ชนิดนี้ ควรที่จะไปเลือกซื้อตามร้าน บางทีเราอาจจะต้องได้เห็นป้ายสินค้าที่ระบุไว้ว่า สีเอาไว้สำหรับทาบ้าน และ สีเอาไว้สำหรับทาอาคาร สลับกันไปมาบ้าง ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้เลยว่า สีทั้ง 2 ชนิดนี้ จะสามารถแบ่งสีตามประเภทเดียวกันหรือเปล่า แล้วถ้าจะเป็นสีคนละประเภทจะสามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ แล้วถ้ามันไม่ต่างกัน ควรที่จะเลือกใช้อย่างไรให้มีความเหมาะสมกับอาคาร และ บ้านของเราดี
สารบัญ
- สีทาบ้านและอาคาร แตกต่างกันอย่างไร
- ประเภทของสีที่มีความสมกับพื้นวัสดุคือ
- สีสำหรับทาอาคาร สีทาบ้าน สำหรับงานเหล็ก
- วิธีการเลือกสีทาภายนอกและภายใน มีอะไรบ้าง
- ชนิดฟิล์มสีสำหรับทาอาคาร สีสำหรับทาบ้าน
- วิธีการสั่งซื้อสินค้ากับทางร้าน
ระหว่างสีทาบ้าน และ สีทาอาคาร มีความแตกต่างกันอย่างไร
สีสำหรับทาอาคาร จะหมายถึง สีที่ใช้ทาสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย แต่ใช้สำหรับจุดประสงค์อื่น ได้แก่ โรงงาน คลังสินค้า ลาดจอดรถ อื่น ๆ อีกมากมาย สีสำหรับทาอาคาร ทำให้จะเน้นไปที่ความทนทาน มีความแข็งแรง และ มีคุณสมบัติที่พิเศษที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนจากสารต่าง ๆ ได้แก่ เกลือ รังสียูวี สารกัดกร่อนจากงานอุตสาหกรรม
สีสำหรับทาบ้าน จะหมายถึง สีที่ใช้ทาบ้าน หรือ ที่อยู่อาศัย ซึ่งจะหมายความรวมไปถึงสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่มนุษย์อาศัย หรือ ใช้งานอยู่ด้วย ได้แก่ โรงพยาบาล อาคารสำหนักงาน ห้างสรรพสินค้า อื่น ๆ อีกมากมาย โดยสีสำหรับทาบ้านจะต้องมีความปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย จะไม่ปล่อยสารพิษ หรือ สารระเหยออกมา นอกจากนี้ยังมักจะถูกออกแบบมาให้มีสีสันที่สวยงามมากกว่าสีสำหรับทาอาคาร และ มีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายสไตล์ตามความชื่นชอบของแต่ละบ้านนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม คำสองคำนี้ ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลยเพียงแต่จะมีความแตกต่างกันที่ความหมาย ในการเลือกใช้คำเท่านั้น เมื่อไปเลือกสีที่ร้านไม่ว่าจะเจอ สีสำหรับอาคาร หรือ สีสำหรับทาบ้าน ก็ไม่ต้องมีสับสน เพราะหมายถึงสิ่งเดียวกันแต่ที่เราจะต้องรู้เพื่อเลือกใช้สีมาทาได้ถูกประเภท จะมีอยู่ด้วยกัน 3 สิ่งนั้นได้แก่
- ประเภทสีที่มีความเหมาะสมกับพื้นผิววัสดุ
- วิธีการเลือกสีทาภายนอก และ ภายใน
- ชนิดฟิล์มสีทาสำหรับอาคาร สีสำหรับทาบ้าน
ประเภทของสีที่มีความสมกับพื้นวัสดุคือ
พื้นผิวของแต่ละวัสดุจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สีสำหรับทาอาคาร สีสำหรับทาบ้าน จริง ๆ แล้ว ก็จะมีหลากหลายประเภทให้เราเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมกับวัสดุแต่ละประเภท
สีสำหรับทาอาคาร สีทาบ้านสำหรับทาปูน
สำหรับทาปูนโดยเฉพาะ ใช้สำหรับงานคอนกรีต ทาเคลือบพื้นปูน ผนังปูน ฝ้าเพดาน และ กระเบื้องแผ่นเรียบ เป็นสีประเภทสีน้ำ (พลาสติก หรือ อะคริลิก) ให้สีสดคงทน สามารถยึดเกาะดี เพราะผลิตมาจากกาวชนิดพิเศษ โดยสีทาปูนก็จะมี 2 ประเภทที่จะต้องใช้ร่วมกัน ได้แก่ สีทารองพื้น และ สีทับหน้า
- สีทารองพื้น จะเป็นสีที่ต้องใช้ทาก่อนลงสีทับหน้า (สีจริงที่จะต้องการทา) เพื่อให้สีทับหน้าสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้อย่างดี จะมีให้เลือกสำหรับรองพื้นปูนเก่า และ ปูนใหม่
-
สีทาทับหน้า ซึ่งจะเป็นสีจริง ที่เราจะนำไปใช้งาน ซึ่งจะมีสีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย โดยจะใช้ทาเพื่อเป็นสีรองพื้น ทำให้มีสีสันที่สวยงาม มีให้เลือกนำไปใช้งานได้หลากหลายแต่ก็สามารถแบ่งออกเป็นสีทาภายใน และ ภายนอกนั่นเอง
สีสำหรับเอาไว้ทาอาคารและสีทาบ้านสำหรับงานไม้
สีทาไม้จะเป็นสีที่ออกแบบมาเพื่อให้ทางานไม้โดยเฉพาะ เพราะพื้นผิวของไม้มีลักษณะที่แตกต่างจากปูน ใช้ทาประตูไม้ พื้นไม้ ผนังไม้ กรอบประตูไม้ จะรวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ไม้ โดยสีทาไม้ก็จะมีด้วยกัน 2 ประเภทให้เลือก ตามคุณสมบัติที่ต้องการได้แก่
- สีทาเคลือบไม้ จะเป็นสีที่ทาไม้มีลักษณะโปร่ง เมื่อทาสีลงไม้ จะยังสามารถมองเห็นลวดลายของไม้ได้อย่างชัดเจน เหมาะสำหรับงานไม้ที่จะต้องการโชว์ลายของไม้ หรือ ใช้ทาเคลือบไม้เก่าให้ได้สีสันที่มีความาสวยสดคล้ายสีดั้งเดิมตามธรรมชาติ
- สีทับหน้าไม้ จะเป็นสีน้ำมันที่มีลักษณะทึบ ใช้สำหรับทาปิดพื้นผิวของไม้ที่มีตำหนิ หรือ ไม่ต้องการโชว์ลายไม้ สีสด ขัดทนทาน
สีสำหรับทาอาคาร สีทาบ้าน สำหรับงานเหล็ก
สีสำหรับงานเหล็ก ได้แก่ โครงเหล็ก ระแนง หรือ รั้วบ้าน รวมไปถึงงานเหล็กต่าง ๆ ที่ต้องการความสวยงาม โดยสีสำหรับทาอาคาร สีทาบ้านสำหรับงานเหล็ก จะเป็นสีน้ำมัน มีคุณสมบัติที่สามารถเกาะติดกับเหล็กได้ โดยสีทาเหล็กก็มีอยู่ด้วยกันทั้ง 2 ประเภทจะได้แก่
- สีทากันสนิม จะเป็นสีทารองพื้นเหล็กก่อนทาสีทับหน้าสำหรับงานเหล็ก ช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะของสีน้ำมันกับพื้นผิวเหล็ก และ ช่วยป้องกันไม่ให้เหล็กเกิดการเป็นสนิม
-
สีเอาไว้ทาเหล็ก จะเป็นสีทาทับหน้าฟิล์มแบบทึบสำหรับงานเหล็กโดยเฉพาะ ช่วยให้มีสีที่สด และ สวยงาม
หลักการเลือกสีทาภายนอกและภายใน มีอะไรบ้าง
หลังจากรู้ประเภทของสีที่มีความเหมาะสมกับพื้นผิวของวัสดุแต่ละวัสดุแล้ว สิ่งต่อมาที่ควรต้องรู้จัก และ ใช้ในการเลือกสีสำหรับทาอาคาร สีทาบ้าน คือการเลือกใช้ สีทาภายนอก หรือ สีทาภายใน
สีทาภายนอก
สีทาภายนอกอาคาร จะเป็นสีทับหน้าที่จะต้องมีความทนทานกับแสงแดด และ สภาพอากาศต่าง ๆ ได้อย่างดี เพราะจะต้องรับผลกระทบจากสภาพอากาศ ฝน ความชื้น และ แดด ตลอดเวลา โดยที่จะสีสดสวย ไม่ซีดจางได้ง่าย สีทาภายนอกจึงจะถูกมักเติมส่วนผสมบางอย่างลงไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับสี โดยคำแนะนำสำหรับการเลือกใช้สีทาภายนอก ได้แก่
- มีความทนทานต่อสภาพอากาศ ได้แก่ แดด ฝน ความชื้น และ เชื้อรา เพราะสีทาภายนอกจะต้องรับผลกระบทบจากสภาพอากาศต่าง ๆ ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะความร้อน สีทาภายนอกจะมีความสามารถในการสะท้อนแสง และ ความร้อน ปกป้องไม่ให้บ้านร้อน
- สามารถปกปิดรอยแตกร้าว รอยแตกลายงา เพราะกำแพงภายนอกอาคารต้องรับความร้อยอยู่ตลอดเวลาจึงอาจจะทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ สีทาภายนอกที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น สามารถหกกลับปกปิดรอยร้าวได้
- สามารถป้องกันน้ำซึมผ่าน และ กันความชื้น ไม่ว่าจะเป็นปูน คอนกรีต ไม้ หรือ เหล็กสีทับหน้าควรที่จะต้องกันน้ำ และ ความชื้นไม่ให้ซึมผ่านเข้าไปกัดกร่อนเนื้อวัสดุได้
- เช็คถู ทำความสะอาดได้ โดยสีไม่ลอก สามารถทำความสะอาดคราบสิ่งสกปรกได้โดยไม่ทำลายเนื้อสี
- สามารถป้องกันเชื้อรา และ ตะไคร่น้ำได้ สีทาภายนอกส่วนใหญ่ จะเติมส่วนผสมพิเศษที่จะช่วยป้องกัน และ ยับยั้งเชื้อรา
สีทาภายใน
สีทับหน้าสำหรับทาภายใน จะมีราคาที่ถูกกว่าสีทาภายนอก เพราะไม่จำเป็นที่จะต้องทนทานต่อแสงแดด หรือ สภาพอากาศเท่าสีทาภายนอก ทั้งนี้ สีทาภายในก็จะมีเคล็ดลับที่ควรเลือกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคุณสมบัติที่จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อการอยู่อาศัย
- เนื้อสีจะมีความละเอียด สวย เงางาม สามารถช่วยสร้างบรรยากาศให้กับห้องได้
- สามารถเช็ดถูทำความสะอาดได้ง่าย บางทีผนังภายในบ้านอาจจะมีคราบเปื้อน หรือ สิ่งสกปรก ซึ่งจะได้แก่ คราบอาหาร และ สีที่เด็กเล็กวาดเขียวไว้ จะต้องทำการเช็ดออกได้ง่ายโดยที่เนื้อสีไม่เกิดการหลุดออก
- สามารถป้องกันเชื้อรา และ แบคทีเรีย เพราะภายในอาคารมีโอกาสที่จะอมความชื้นมากกว่า ยกตัวอย่างได้แก่ ห้องน้ำ หรือ ห้องใต้ดิน มีความชื้นที่ค่อนข้างสูง ทำให้เชื้อรา และ แบคทีเรียบเติบโตได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ด้วย
- ปราศจากกลิ่นฉุน สารเคมี และ สารระเหย เพราะสีทาภายในใช้ทาในพื้นที่ที่คนอยู่อาศัย จึงต้องปลอดภัย ปราศจากกลิ่นสีทาบ้าน และ สารที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ชนิดฟิล์มสีสำหรับทาอาคาร สีสำหรับทาบ้าน
การเลือกสีสำหรับทาบ้าน นอกจากเราจะเลือกโทนสีสำหรับทาบ้านที่ชอบ และ เลือกให้ถูกตามประเภทแล้ว อีกสิ่งที่จะต้องรู้ก็คือ ชนิดของฟิล์มสีสำหรับทาบ้าน ซึ่งฟิล์มสีก็คือชั้นความหนาของเนื้อสีของสำหรับอาคาร สีสำหรับบ้าน ที่ทำให้ออกสีสด สีด้าน หรือ เกิดเงา
ฟิล์มสีชนิดด้าน
สีที่จะเป็นฟิล์มชนิดด้าน จะมีลักษณะผิวของสีจะมีความด้าน ดูเรียบเนียน ไม่สะท้อนแสง และ เงา ทำให้รู้สึกสบายตา มีความเหมาะสำหรับห้องนอน หรือ บริเวณที่จะต้องการความสบายตา ไม่สว่าง โดยจุดเด่นของฟิล์มชนิดด้าน คือ ช่วยปกปิดรอยต่าง ๆ ได้อย่างดี
ฟิล์มสีชนิดเงา
สีชนิดฟิล์มเงาจะให้ผิวที่เรียบ เงางาม ให้ความรู้สึกหรูหรา สะท้อนแสงได้อย่างดี ทำให้ห้อง หรือ อาคารที่ทาสีฟิล์มเงาดูสว่าง สีสด และ ด้วยคุณสมบัติที่ลื่นเงา ทำให้ฝุ่น และ คราบสกปรกติดยาก ทำความสะอาดได้ง่าย จึงมีความเหมาะสมสำหรับใช้ทาห้องที่มีโอกาสเลอะคราบง่าย ได้แก่ ห้องครัว ห้องเด็กเล็ก ห้องทำงานฝีมือ
ฟิล์มสีชนิดแบบกึ่งเงา
สีชนิดฟิล์มกึ่งเงาจะมีลักษณะผิวที่เงาเล็กน้อย ไม่ด้านจนเกินไป ยังคงมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงอยู่บ้าง ทำให้ห้องสว่าง มีความเป็นธรมมชาติ มีความลื่นเล็กน้อยทำให้ทำความสะอาดได้ง่าย มีความเหมาะกับห้องนั่งเล่น และ สะท้อนแสงธรรมชาติได้นุ่นนวล
เลือกสีสำหรับทาอาคาร สีสำหรับทาบ้านง่าย ๆ ไม่เกิดการสับสน
สีสำหรับทาอาคาร กับ สีสำหรับทาบ้าน ก็คือ สีประเภทเดียวกันที่ใช้ทาอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพียงแต่เรียกต่างกันตามความคุ้นเคยเท่านั้น ถ้าหากเจอป้ายสินค้า หรือ ชื่อสินค้าที่เขียนแตกต่างกันเป็น สีสำหรับทาอาคาร และ สีสำหรับทาบ้าน จึงไม่ต้องมีความสับสน แต่สิ่งที่เราต้องรู้เพื่อใช้พิจารณาเลือกใช้สีให้มีความเหมาะกับการนำไปใช้งาน และ สไตล์ที่ต้องการจริง ๆ ได้แก่
- ชนิดของสีที่มีความเหมาะสมกับการทาบนวัสดุต่าง ๆ ได้แก่ พื้นผิวปูน พื้นผิวไม้ และ พื้นผิวเหล็ก
- การเลือกชนิดของสีให้มีความเหมาะกับการใช้ทาภายนอก หรือ ภายในอาคาร
- ชนิดของฟิล์มสี เพื่อให้เลือกเฉดสี ความเงางามที่มีความเหมาะสมกับบรรยากาศห้อง หรือ ตัวอาคาร
เมื่อเราได้ทำความเข้าใจกับ 3 เรื่องข้างต้นแล้วจะช่วยให้คุณสามารถเลือกสีสำหรับเอาไว้ทาบ้าน และ อาคาร ได้อย่างถูกต้องตามการใช้งาน และ ตรงใจ ได้สีสวยงาม มีความทนทาน ให้บ้าน หรือ อาคารที่เราต้องการจะทาสีให้มีสีที่สวยสดยาวนาน ไร้ปัญหาสีกวนใจได้นั่นเอง
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ อาณาจักรนายช่าง
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang