เสาเข็มหกเหลี่ยม ราคา

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง 6″ ความยาว 1-3 เมตร (ราคา/เมตร)

0
฿70.00


เสาเข็มหกเหลี่ยม ราคา

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสาเข็มหกเหลี่ยมกลวง 6″ ความยาว 3-6 เมตร (ราคา/เมตร)

0
฿75.00


เสาเข็มคอนกรีต ราคา

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสารั้ว ความยาว 1-3 (ราคา/เมตร)

0
฿55.00


เสาเข็มคอนกรีต

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสาบ้าน 4″x4″ (ราคา/ศอก)

0
฿75.00


เสาเข็มคอนกรีต

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสาบ้าน 5″x5″ (ราคา/ศอก)

0
฿110.00


เสาเข็มคอนกรีต

หยิบใส่ตะกร้า

Quick View

เสาบ้าน 6″x6″ (ราคา/ศอก)

0
฿140.00

 

**สามารสั่งซื้อสินค้าได้ โปรดติดต่อทาง Line ID: @273oyqga หรือ โทร 086-341-9908**

เจาะเปียก (Wet Process)

ขั้นตอนที่ 1 การใส่ปลอกเหล็ก

1.1 การป้องกันดินส่วนบนพัง การใส่ปลอกเหล็กให้เสาเข็ม ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 14.00 ม. และปลายปลอกเหล็กต้องลึกถึงชั้นดินเหนียว ความยาวของปลอกเหล็กการขุดโดยไม่เติมน้ำยาเจาะในหลุมเพราะมีปลอกเหล็กกันในส่วนของดินพังที่ติดตั้งอยู่แล้วและควรใส่ LIQUID เมื่อทำการขุดเลยระดับได้และถ้าหากมีน้ำไหลเข้ามาในปลอกเหล็กให้ BENTONITE เพื่อจะทำหน้าที่ต่อต้านแรงดันข้างในหลุมที่สามารถเกิดการพังทลายได้

1.2 เมื่อทำการขุดและเจาะหลุมจนได้ระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนขั้นตอนที่จะติดตั้งเหล็กเสริมควรจะตรวจสอบความดิ่งและการพังลายของการขุดหลุมเจาะด้วยวิธีการทำเครื่องมือที่เหมาะกับการขุด ว่าเกิดการพังทลายของดินเกิดขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบดินจะต้องชักโครงเหล็กเพื่อมาทำการแก้ไขให้เรียบร้อย จึงจะค่อยลงโครงเหล็กเสริมใหม่ได้

1.3 การที่จะวางโครงเหล็กเสริม ควรที่จะเจาะรูและคอยตรวจสอบให้เรียบร้อย ต่อจากขั้นตอนนั้นค่อยทำการเทคอนกรีต BENTONITE SLURRY โดยใช้ท่อ TREMIE PIPE เป็นท่อที่ใช้เทคอนกีรตขนาดพอเหมาะหลังจากนั้นใส่ลงไปในหลุมเข็มใช้เจาะจนเกือบถึงก้นหลุม ให้ท่อปลายห่างกับหลุมเพียงนิดเดียว โดยให้ plug อยู่ในท่อ ให้ลอยอยู่เหนือ SLURRY PLUG อาจจะให้ใช้ลูกบอลยาง ที่ได้ทำการออกแบบให้เห็นชอบแล้ว TREMIE PIPE ต้องฝังตัวอยู่ภายในคอนกรีตประมาณสองเมตร ให้ตามความพอเหมาะในการตัดต่อท่อ อาจจะน้อยกว่าก็ได้ตามสภาพความเหมาะสม และตัวท่อต้องให้จมอยู่ในเนื้อคอนกรีตประมาณสามถึงห้าเมตร การกำหนดขนาดของคอนกรีตต้องดูปริมาณของคอนกรีตที่เทด้วย ในทุกระยะของการเทให้เปรียบเทียบกับปริมาณตามแบบไว้ ในขณะที่เทอยู่ท่อคอนกรีต ห้ามทำให้หลุดออกจากคอนกรีตในหลุมเจาะ

1.4 หัวเสาเข็มของการหล่อคอนกรีต ต้องให้สูงมากกว่าระดับ 1.20-1.50

1.5 เมื่อเทคอนกรีตได้ระดับแล้ว ควรถอดปลอก เสาเข็ม

1.6 การตรวจสอบใดหรือการเจาะ เสาเข็ม ที่ไม่ได้กล่าวไว้ อยู่ระหว่างในการทำงาน ผู้ที่รับจ้างเห็น มีการเพิ่มเติมหรือเปบี่ยนแปลง เพื่อให้งานสมบูรณ์แบบขึ้นผู่ที่รับจ้างต้องบอกแจ้งต่อผู้คุมงานหรือวิศวกรหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง เพื่อให้ความเห็นชอบ

1.7 คุณสมบัติของ BENTONITE SLURRY

ก.ค่าพีเอสจะต้องไม่ต่ำกว่า 7

ข. ปริมาณที่ใช้ผสม 2-6เปอร์เซ็น ความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 1.05-1.2ตัน/ลบ.ม.

ค.ความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 30-90 วินาที> ( MARCH`CONE TEST )

ง.เนื้อทรายไม่เกิน 6 เปอร์เซ็น ทดสอบโดย NO. 200 Seive H.S.MESH อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจจ้าง ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เห็นว่าไม่เหมาะที่จะใช้งานต่อไป BENTONITE นั้นสกปรกหรือมีคุณสมบัติต่าง ๆ คณะกรรมการจะลงมติห้ามใช้ BENTONITE SLURRY นั้นได้
จ.ในหลุมเจาะจริงต้องทำการทดสอบคุณสมบัติทั้งหมดนี้จาก BENTONITE SLURRY ด้วย

ขั้นตอนที่ 2 ข้อกำหนดของคอนกรีต

2.1 คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะ มาตรฐานของคอนกรีตต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีต รูปทรงลูกบาศ์ก ( CUBE ) 0.15×0.15×0.15 เมื่อมีอายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า280 KSC. โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่1 ค่ายุบตัวจะอยู่ระหว่าง 15-20 ซม.
2.2 การก่อตัวของคอนกรีตที่ใช้งานเจาะเสาเข็มต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 5 ซม. การเทคอนกรีตต้องเหมาะสมกับระยะเวลา

2.3ผู้รับจ้างเจาะเสาเข็ม ต้องเสนอการออกแบบให้ผสมผสาน ให้คณะกรรมการในการตรวจจ้างพิจารณาเพื่อที่จะอณุมัติให้มีการเจาะเสาเข็ม ต้องเสนอส่งผลการทดสอบกำลังอัดมาด้วย เรื่องของคุณภาพเสาเข็มความรับผิดชอบยังคงอยู่ในส่วนของผู้รับจ้าง

2.4 ในขั้นตอนการเก็บตัวอย่างของเสาเข็มเจาะคอนกรีต 1 ตันควรเก็บให้มากกว่า 3 ชุด โดยชุดละ3แท่งและค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่าง และการทดสอบ ผู้รับจ้างจะต้องออกค่าใช้จ่ายที่กล่าวมาทั้งหมด

 ขั้นตอนที่ 3 การเสริมเหล็กในเสาเข็มเจาะ

การเสริมเหล็กยืนควรเสริมเหล็ก ตั้งแต่ 12 มม. ขึ้นไปโดยให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD-40 ตามมาตรฐาน มอก. และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.5% ของหน้าตัดเสาเข็ม
เหล็กปลอกเสริมเสาเข็มโดยให้เสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  9 มม. ระยะ 0.30 ม.ให้ใช้เหล็กกลม SR-24 โดยใช้ตามมาตรฐาน มอก.

ขั้นตอนที่ 4 ทดสอบตามมาตรฐาน โดยทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ

ขั้นตอนที่ 5 ทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะ

ขั้นตอนที่ 6 บันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ

รายละเอียดดังนี้
6.1 บันทึกวัน เดือน ปี ที่ทำการเจาะเสาเข็มและเทคอนกรีตของเสาเข็ม อย่างละเอียด
6.2 บันทึกหมายเลขกำหนดและตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
6.3 บันทึกระดับดินเดินก่อนทำการเจาะเสาเข็มทุกครั้ง
6.4 บันทึกโดยระบุระดับปลายเสาเข็ม
6.5 บันทึกระดับหัวเสาเข็ม
6.6 บันทึกความยาวเสาเข็มเจาะและระดับเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็ม
6.7 บันทึกรายละเอียดเหล็กเสริมที่ใช้เสาเข็มเจาะ
6.8 บันทึกความคลาดเคลื่อนของศูนย์และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มเจาะในแนวดิ่่ง
6.9 บันทึกรายละเอียดของชั้นดิน จะต้องเก็บตัวอย่างรายละเอียดในชั้นดิน ณ จุดที่สามารถทำเสาเข็มส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบ และจะต้องจัดทำรายการข้อมูลของชั้นดินที่ผิดแปลกและไปส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบเพื่อให้ทราบทันที
6.10 บันทึกรายละเอียด อุปสรรคที่เกิดขึ้นตัวอย่างเช่นเหตุผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นต้องแก้ไขให้สำเร็จและถูกต้องตามหลักวิชาการ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสาเข็ม

ในปัจจุบันโครงสร้างที่สำคัญของบ้าน ต้องมีความแข็งแรงและทนทาน บ้านก็เหมือนกับต้นไม้ซึ่งต้องมารากฐานที่มั่นคง การใช้เสาเข็ม ถือว่าสำคัญที่สุดที่จะให้ความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน มีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน การที่มีวิศวการมาคุมการก่อสร้างให้เป็นไปได้ตามมาตรฐานและถูกต้อง ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เสาเข็มจะแบ่งเป็น2ประเภท คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ ควรเลือกให้เหมาะสมในการใช้งาน

ความสำคัญของรากฐาน

1.เพื่อทำให้โครงสร้างต่างๆของอาคารมีเสถียรภาพไม่จมลงในดินและไม่เกิดการทรุดตัวหรือเอนเอียง

2.เพื่อไม่ให้โครงสร้างอาคารทรุดตัวเนื้องจากการขุดดินใต้รากฐานของสิ่งก่อสร้าง

3.เพื่อเป็นตัวค้ำยันในการแก้ไขโครงสร้างอาคารหลัก

4.เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของทางโครงสร้างที่อยู่ลึกๆเช่นสิ่งก่อสร้างที่อยู่ใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน

5.เพื่อเพิ่มให้รากฐานสามารถรับน้ำหนักได้เพิ่มขึ้น และเพิ่มขนาด เช่น การเพิ่มชั้นของอาคาร

6.เพื่อทำให้อาคารที่ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่นยังคงสามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม

ข้อดีของเสาเข็ม

1.ทำงานได้ในที่แคบ

2.มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เกิดภาวะทางเสียง  ไม่มีโคลน สะดวกต่อการใช้งาน

3.ตอกได้ตามความเป็นจริง

4.การรับน้ำหนักได้มากๆทำให้พื้นฐานโครงสร้างแข็งแรง

5.ตอกชิดผนังบ้านหรือติดกำแพงบ้านได้

https://www.facebook.com/Naichangnetwork

เสาเข็ม