ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ หรือ ปูนแดงดู ปูน ชนิดอื่นๆ คลิ๊ก
ปูนซีเมนต์ตรา ทีพีไอแดง (ปูนแดง ราคา ถูก)
ข้อมูลสินค้า
ปูนทีพีไอสีแดง หรือ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้กับงานโครงสร้าง หรืองานจำพวกคอนกรีตที่ใช้กำลังอัดสูง งานก่อสร้างโครงสร้างที่ต้องใช้เหล็กเสริมเกือบทุกชนิด เช่น งานถนน สะพานข้ามแม่น้ำ หรือ สนามบิน และใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้การอัดแรงคอนกรีตหลายๆประเภท ปูนแดง ราคา
เกณฑ์กำหนดคุณสมบัติทางเคมี | ปูนปอร์ตแลนด์ประเภทหนึ่ง | |||
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมมอก. 15 เล่ม 1-2555 ประเภทหนึ่ง |
ตามมาตรฐาน ASTM C 150 TYPE I |
ปูนซีเมนต์ทีพีไอ (สีแดง) (TYPICAL AVERAGE VALUES) |
||
มักเนเซียมออกไซด์ (MgO) | สูงสุดร้อยละ | 6.0 | 6.0 | 1.2 |
ซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) | ||||
เมื่อมี 3 CaO. Al2O3 ร้อยละ 8 หรือน้อยกว่า | สูงสุดร้อยละ | 3.0 | 3.0 | – |
เมื่อมี 3 CaO. Al2O3 น้อยกว่าร้อยละ 8 | สูงสุดร้อยละ | 3.5 | 3.5 | 2.5 |
การสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากการเผา (Loss on lgnition) | สูงสุดร้อยละ | 3.0 | 3.0 | 1.1 |
กากที่ไม่ละลายในกรดด่าง (Insoluble Residue) | สูงสุดร้อยละ | 0.75 | 0.75 | 0.30 |
เกณฑ์กำหนดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ |
||||
1. ความละเอียด (Fineness) | ||||
พื้นผิวจำเพาะ (Specific Surface) ตารางเซนติเมตรต่อกรัม | ||||
ทดสอบด้วย แอร์เพอมีอะบิลิตี (Air Permeability Test Blaine) | ||||
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตารางเซนติเมตรต่อกรัม | 2800 | 2800 | 3500 | |
ค่าต่ำสุดสำหรับตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่ง ตารางเซนติเมตรต่อกรัม | 2600 | 2600 | 3000 | |
2. ความอยู่ตัว (Soundness) | ||||
การขยายตัวโดยวิธีออโตเคลฟว์ (Autoclave Expansion) | สูงสุดร้อยละ | 0.80 | 0.80 | 0.01 |
3. ระยะเวลาการก่อตัว (Time of Setting) ทดสอบแบบไวเคต (Vicat Test) | ||||
การก่อตัวระยะต้น | ไม่น้อยกว่า-นาที | 45 | 45 | 100 |
การก่อตัวระยะปลาย | ไม่มากกว่า-นาที | 375 | 375 | 180 |
4. ปริมาณอากาศในมอร์ต้า (Air Content of Mortar) โดยปริมาตร | สูงสุดร้อยละ | 12.0 | 12.0 | 5.0 |
5. แรงอัด (Compressive Strength) กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร | ||||
1 วันในอากาศชื้น 2 วันในน้ำ | ต่ำสุด | 122 | 122 | 180 |
1 วันในอากาศชื้น 6 วันในน้ำ | ต่ำสุด | 194 | 194 | 250 |
การผลิตปูนซีเมนต์
หลายๆคนคงจะเห็นพบเจอตึกที่สูงมากๆกันมาบ้างแล้ว แต่บางคนอาจจะสงสัยว่าตึกที่ใหญ่และสูงนั้น มีน้ำหนักมากจะทำมาจากอะไร คำตอบคือ ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นโครงอยู่ภายใน เราเรียกกันง่ายๆว่าคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นเอง นอกจากจะมีการรับน้ำหนักได้มากแล้วใช้สำหรับทำตึกสูงๆ เรายังใช้งานคอนกรีตเสริมเหล็กในสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่นในการก่อสร้างถนน สร้างตอม่อ สร้างสะพาน สร้างเขื่อน หรืออุโมงค์ อีกด้วย โดยส่วนผสมของคอนกรีตมาจาก ทราย หิน ปูนซีเมนต์ และน้ำ หินจะเป็นของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แล้วจึงนำมาย่อยให้ได้ขนาดที่ต้องการ ทรายก็เป็นวัสดุอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติ ในพื้นที่ตามท้องทะเล หรือ ก้นแม่น้ำ ส่วนปูนซีเมนต์จะผลิตขึ้นจากโรงงาน
การเริ่มต้นการผลิตปูนปอร์ตแลยด์ที่โรงงานเริ่มต้นโดยการนำวัตถุดิบหลายๆชนิดนำมาบดรวมกัน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต มาบดให้ละเอียดเป็นผงเรียกว่า วัตถุดิบสำเร็จ หลังจากนั้นนำไปเข้าเตาเผาที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1500 องศา ก็จะได้ผลผลิตตามมาเรียกว่า ปูนเม็ด ขั้นตอนต่อมาก็นำปูนที่ได้มาบดจนเป็นผงละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงค่อยตามด้วยส่วนผสมแร่ยิปซัมลงไปโดยประมาณ 3-5 % ก็เสร็จเรียบร้อยจะได้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในการใช้งานก่อสร้างตามที่ต้องการ ข้อควรระวังห้ามให้อยู่ในที่ๆมีความชื้นเพราะปูนที่ได้อาจจะแข็งตัวง่ายเมื่อเจอน้ำหรือมีความชื้นต้องเก็บโดยบรรจุถุงกระดาษสีน้ำตาล มีการปิดถุงอย่างหนาแน่น ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย แล้วพอได้หลายๆถุงควรเก็บวางไว้ให้ชิดกันมากที่สุดเพื่อไม่ให้อากาศผ่านไปได้บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นไม้ที่อยู่สูงกว่าพิ้นดิน ควรเก็บไว้ในอาคารหรือโรงเรือนปิดมิดชิดจนกว่าจะนำไปใช้
ปูนซีเมนต์คือวัสดุก่อสร้างอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีลักษณะสีเทาเป็นผงละเอียดสามารถแข็งตัวหรือก่อตัวได้ในน้ำการใช้งานต้องหล่อเป็นรูปแบบต่างๆตามความต้องการ ผู้ที่คิดค้นผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คนแรกก็คือ แอสปดิน โจเซฟ คนอังกฤษ เมื่อย้อนไป 170 ปีมาแล้ว โดยที่เขาได้คิดค้นนำฝุ่นดินกับหินปูนมารวมกันแล้วเผาจากนั้นนำมาบดจนละเอียดผลที่ได้คือเมื่อผสมน้ำแล้วแข็งตัวจะเป็นก้อนสีเหลืองเทาเหมือนกับก้อนหินจากเมืองปอร์ตแลนด์ประเทศอังกฤษจึงเรียกกันว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนแดง ราคา ถูก และจึงจดทะเบียนสิทธิบัตรในการผลิตไว้เป็นหลักฐาน หลังจากนั้นอีก30 ปี จึงมีคนคิดค้นวิธีใหม่นำมาเผาผสมให้มีอุณหภูมิมากๆจนส่วนผสมเยิ้มตัว จะได้ปูนที่มีคุณภาพสูงขึ้น นอกจากนี้โรงงานที่ประเทศเยอรมัน ยังเริ่มต้นนำเอาปูนเม็ดมาบดให้เป็นผง ทำให้ปูนมีคุณภาพดีขึ้นไปอีก
ปัจจุบันการผลิตของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทำได้ 2 วิธีคือ วิธีแห้งและวิธีเปียก วิธีแห้งเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเพราะว่าเป็นวิธีการที่เหมาะกับการผลิตจำนวนมากๆ ได้จากการบดวัตถุดิบที่มีหลายชนิดเช่น คลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น ทำจนเป็นผงละเอียดมาก เรียกว่า วัตถุดิบสำเร็จ แล้วจึงนำเข้าเตาเผา ซึ่งเตาจะเป็นท่อขนาดใหญ่วางมุมเอียงและหมุนรอบตัวช้าๆ จากนั้นปล่อยส่วยผสมให้ไหลออกมาในท่อด้านต่ำที่สวนทางกับไฟที่พ่นไปโดยมีน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลังจากนั้นนำไปเข้าเตาเผาที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1500 องศา ผลที่ได้จากการเผาคือ ปูนเม็ด แล้วจึงค่อยตามด้วยส่วนผสมแร่ยิปซัมลงไปโดยประมาณ 3-5 % การที่ใส่ส่วนผสมยิปซั่มลงไปผสมกับปูนจะช่วยให้การแข็งตัวของปูนช้าลงเมื่อนำไปใช้งาน
ส่วนมากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์นี้ได้ใช้มากในการหล่อทำคอนกรีตอัดแรงและคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนผสมของคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นหินย่อย ปูนซีเมนค์ น้ำ ทราบ เมื่อได้ส่วนผสมเหล่านี้แล้วก็นำมาผสมกันตามสัดส่วนที่ต้องการแล้วจึงเทส่วนผสมที่เปียกลงในแบบของเหล็กที่ผูกเป็นโครงอยู่ภายใน จากนั้นทิ้งไว้จนแห้งแล้วแกะแบบออก ผลได้ออกมาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีคุณสมบัติทนทานแข็งแรง และรับน้ำหนักได้มาก ไม่ติดไฟนอกจากนั้นยังทำให้มีรูปแบบตามที่ต้องการได้อีกด้วย คอนกรีตเสริมเหล็กจึงสำคัญมากในงานก่อสร้างทุกๆประเภท และส่วนของคอนกรีตอีดแรงนั้นจะต้องใช้ลวดเหล็กที่ทำขึ้นเป็นพิเศษแทนเหล็กธรรมดาทำให้มีน้ำหนักและความแข็งแรงมากกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กการใช้งานใช้กับการสร้างคานช่วงยาวๆ หลังคา สะพานหรือ ทำพื้นได้อย่างดี