ปูนซีเมนต์เขียว TPI และปูนอื่นๆ
ปูนซีเมนต์ตรา ทีพีไอเขียว (ปูนเขียว ราคา ถูก)
ข้อมูลสินค้า
ปูนซีเมนต์ผสมตรา ทีพีไอเขียว ได้จากการผสมของวัสดุเฉื่อย ได้แก่ หินปูน หรือ ทราย และ อื่นๆกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ผลิตไปตามเกณฑ์ โดยให้คุณภาพของปูนซีเมนต์ถูกต้อง ได้มาตราฐานที่กำหนดไว้ในอุตสาหรรมปูนซีเมนต์ผสม มอก. 80-2550
คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ทีพีไอเขียว เหมาะกับการใช้ผลิต ถนนทางเท้า งานวงบ่อ แลพวกงานคอนกรีตขนาดเล็กทั่วไปที่ไม่ต้องใช้กำลังอัดสูง นอกจากนี้ ปูนซีเมนต์ตรา ทีพีไอเขียว ยังเหมาะกับการใช้งานก่อฉาบได้ดี เพราะมีคุณสมบัติหดตัวน้อยไม่ทำให้แตกร้าว แก่อาคาร ปูนเขียว ราคา
เกณฑ์กำหนดคุณสมบัติทางฟิสิกส์ |
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ |
ปูนซีเมนต์ทีพีไอ (สีเขียว) |
|
1. ความละเอียด (Fineness)
พื้นผิวจำเพาะ (Specific Surface) ตารางเซนติเมตรต่อกรัม ทดสอบด้วย แอร์เพอมีอะบิลิตี (Air Permeability Test Blaine) ตารางเซนติเมตรต่อกรัม |
ต่ำสุด |
3200 |
4000 |
2. ความอยู่ตัว (Soundness)
การขยายตัวโดยวิธีออโตเคลฟว์ (Autoclave Expansion) |
สูงสุดร้อยละ |
0.8 |
0.01 |
3. ระยะเวลาการก่อตัว (Time of Setting)
ทดสอบแบบไวเดต (Vicat Test) |
ไม่น้อยกว่า-นาที |
45 |
120 |
4. ปริมาณอากาศในมอร์ต้า (Air Content of Mortar)โดยปริมาตร |
สูงกว่าร้อยละ |
12 |
7.0 |
5. แรงอัด (Compressive Strength)
กิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร |
|||
1 วันในอากาศชื้น 2 วันในน้ำ |
ต่ำสุด |
75 |
120 |
1 วันในอากาศชื้น 6 วันในน้ำ |
ต่ำสุด |
120 |
180 |
6. การก่อตัวผิดปกติ (False Set) ระยะจมสุดท้าย
(Final Penetration) |
ต่ำสุดร้อยละ |
50 |
60 |
มาตรฐานปูนทีพีไอ TPI
•มาตรฐานสากลระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ในขอบข่ายการผลิต และจำหน่ายปูนซีเมนต์ แบบครบทั้งในส่วงโรงงานสระบุรี สำนักงานใหญ่ และศูนย์จ่ายปูนซีเมนต์ จากสถาบัน AJA Registrars
•มาตรฐานสากลระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 จำนวน 2 ฉบับ ในขอบข่ายการผลิตปูนซีเมนต์ และการกำจัดกากอุตสาหกรรม จากสถาบันAJA Registrars
•มาตรฐานระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย TIS 18001 หรือ มอก.18001 ในขอบข่ายการผลิตปูนซีเมนต์ และการกำจัดกากอุตสาหกรรม จากสถาบัน AJA Registrars
ปูนซีเมนต์
•การนำแคลเซียมคาร์บอเนตจากหินปูนและหินดินดาน ที่บดเป็นผงและนำไปผสมกัน จากนั้นนำเข้าไปเผาที่เตาอุณภูมิที่ 1,400 องศา
เซลเซียส ส่วนผสมที่ถูกเผาด้วยความร้อนสูงจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันจนกลายเป็นปูนเม็ดซึ่งช่วยให้ยึดประสานกันได้ดี หลังจากนั้นนำปูนเม็ดที่ได้ไปบดผสมกับผงยิปซัมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง จนได้ออกมาเป็นผงปูน เมื่อนำผงปูนที่ได้ผสมกับน้ำ หิน และทราย เกิดเป็นปูนซีเมนต์ที่มีความแข็งแรง ยึดเกาะกันดี มีหน้าที่ยึดประสาน มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่นสะพาน ถนน หรือแม้กระทั่ง บ้านที่อยู่อาศัยซึ่งปูนซีเมนต์มีหลายประเกท โดยแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น ปูนซีเมนต์ที่ผสมกับน้ำทราย ทั่วไปจะเรียกปูนเทา (เช่น ปูนเขียว , ปูนแดง) หรือ ปูนมอร์ตาร์ที่ใช้ก่อ ฉาบ
ปูนเป็นวัสดุที่มีราคาไม่แพงสามารถปรับรูปร่างได้ตามที่ต้องการใช้งานง่าย ในงานก่อสร้างสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ทุกคนอาจจะไม่รู้ว่าปูนที่เห็นเป็นของธรรมดาๆ สามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ปูนที่ใช้ในงานก่อสร้าง บ้าน อาคาร หรืองานช่าง มีอยู่กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร เรื่องนี้คนที่เป็นเจ้าของบ้านควรรู้เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อปูนแต่ละประเภทในการต่อเติมหรือสร้างบ้านของตนเอง แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างรับเหมา ที่มารับเหมา ก่อสร้างจัดการ ซื้อปูน โดยที่เราไม่ทราบว่าการใช้งานปูนแต่ละประเภทเป็นอย่างไร
การเก็บรักษาปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานจำกัด จึงต้องมีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันความชื้นที่อาจทำให้ปูนซีเมนต์เกิดการแข็งตัว และเสื่อมคุณภาพได้ดังนี้
-
การกองปูนซีเมนต์
โดยยกพื้นให้สูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความชื้น และน้ำฝนที่จะไหลมาจากที่อื่น การกองปูนซีเมนต์ควรกองซ้อนกัน 5 ชั้น แล้ววางสลับแบบขวางอีก 5 ชั้น และควรกองปูนซีเมนต์แยกประเภทแยกกองที่มาก่อนก็นำไปใช้ก่อน และกองให้ห่างจากฝาผนังประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร
-
สถานที่เก็บต้องมีหลังคาคลุมมีฝาผนังทั้ง4 ด้าน เพื่อป้องกันความชื้นจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ ทำให้ปูนซีเมนต์เกิดการแข็งตัวได้
การผลิตปูนซีเมนต์
การผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในโรงงานเริ่มต้นการบดวัตถุดิบหลายชนิด เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น ให้ละเอียดเป็นผงเรียกว่า วัตถุดิบสำเร็จ แล้วนำเข้าเผาในเตาเผาแบบหมุนที่อุณหภูมิสูงประมาณ ๑,๕๐๐ องศาเซลเซียส ก็จะได้ผลิตผลที่เรียกว่า ปูนเม็ด จากนั้นนำปูนเม็ดมาบดจนเป็นผงละเอียดอีกครั้งหนึ่งแล้วผสมแร่ยิปซัมลงไปประมาณ ๓ – ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สำหรับใช้ในการก่อสร้างตามที่ต้องการ ปูนซีเมนต์ที่ผลิตได้นี้อาจแข็งตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความชื้นหรือเปียกน้ำจึงต้องเก็บไว้อย่างระมัดระวังโดยบรรจุใส่ถุงกระดาษสีน้ำตาล ปิดปากถุงอย่างแน่นหนา ด้วยเครื่องจักรแล้วเก็บถุงปูนซีเมนต์วางเรียงให้ชิดกันมากที่สุดเพื่อไม่ให้อากาศผ่านได้บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นไม้ที่สูงเหนือระดับพื้นดิน ภายในโรงเรือนหรืออาคารที่ปิดมิดชิดจนกว่าจะนำไปใช้งาน
**สามารถสั่งซื้อสินค้า และ เช็ค ราคา ปูนเขียว ได้ที่นี่**