ความแตกต่างของซีเมนต์กับคอนกรีต

ความแตกต่างของซีเมนต์กับคอนกรีต นวัตกรรมที่ทันสมัยเหมาะแกการสร้างบ้านเรือนที่ทำออกมาในรูปแบบอาคารปูน ที่มีมาอย่างยาวนาน  สังเกตได้จากโบราณสถาน วัด หรือ เทวาลัยต่างๆ ที่ไม่ได้นำหินมาวางสร้างเป็นปราสาท แต่มีการผสานก้อนหินด้วยเคมีภัณฑ์ที่รวมวัสดุเหล่านั้นให้เป็นอาคารที่มีความแข็งแรง แต่ก็ยังมีชื่อเรียกที่สลับกัน ระหว่าง ซีเมนต์ กับ คอนกรีต ที่อาจจะทำให้เราสับสนได้ว่ามันคืออะไร หากเราต้องสร้างบ้านแต่เราเรียกวิธีใช้วัสดุที่ผิด จะทำให้บ้านที่ได้มีความแตกต่างกัน

ความแตกต่างของซีเมนต์กับคอนกรีต

ความแตกต่างของซีเมนต์กับคอนกรีต หลักการมีอะไรบ้าง

ซีเมนต์ คือ ผงสารเคมี หรือที่เรียกกันง่ายๆ ก็คือ วัสดุ ที่นำไปใช้ผลิตคอนกรีต เท่ากับว่าซีเมนต์ เป็นส่วนย่อยของคอนกรีตนั้นเอง ส่วนเนื้อซีเมนต์ที่เป็นผงๆ นี้ได้รับการจดสิทธิบัตรของชาวอังกฤษ ที่เรียกกันว่า ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ การคิดค้นที่ให้ได้มานี้ ทำเพื่อให้สีของผงซีเมนต์ มีสีทีคล้ายกับหิน ของเกาะปอร์ตแลนด์ ในประเทศอังกฤษ

กรรมวิธีการสร้างซีเมนต์นั้น นำ หินปูน กับ ดินเหนียว ที่ผ่านมากผสมเข้ากันแล้วไปเผา จากนั้นก็นำไปบด แล้วต้องให้ได้ค่ามาตรฐานในการผสานหินต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมาตรฐาน EUROPEAN EN-197 ของประเทศยุโรป , มาตรฐาน ASTM จากอเมริกา และสำหรับประเทศไทย รองรับด้วยมาตรฐาน มอก.

คอนกรีต เป็นการผสานระหว่าง 3 องค์ประกอบรวมกันได้แก่ ปูนซีเมนต์ + น้ำ + ทราย ทำให้มีความแข็งแรง รับแรงอัดที่สูงๆ ได้ซึ่งตัวของผนังบ้านเรือน หรือ ทรงอาคารต่างๆนั้นก็ทำมาจาก คอนกรีต และเราก็สามารถทำคอนกรีตรับแรงสูงๆได้ยิ่งกว่าผนังบ้านเรือน คือ ถนน , เขื่อน , สะพาน ต่างๆอีกมากมาย โดยการผสมสารบางอย่างเข้าไปตั้งแต่ตอนที่ส่วนผสมยังไม่แข็งตัว

สัดส่วนในการผสมของแต่ละงาน ปูน + ทราย + หิน

  • สัดส่วนของการผลิตเสาเอก , เสาโครงสร้าง , ผนัง คือ 1 ต่อ 1.5 ต่อ 3
  • สัดส่วนของการผลิตพื้น , คาน คือ 1 ต่อ 2 ต่อ 4
  • สัดส่วนในการลาดถนน , งานฐานราก คือ 1 ต่อ 2.5 ต่อ 4

ภาษาที่ชาวบ้านเรียกกันตามส่วนผสม มีอะไรบ้าง

  • ซีเมนต์ + น้ำ = ภาษาช่างจะเรียกว่า ปูนเค็ม
  • ซีเมนต์ + น้ำ + ทราย = ภาษาช่างจะเรียกว่า ปูนทราย หรือ มอร์ต้า
  • ซีเมนต์ + ทราย + หิน ในอัตราส่วนที่ 1 : 3 : 5 + น้ำ = จะเรียกว่า รีน
  • ซีเมนต์ + ทราย + หิน ในอัตราส่วนที่ 1 : 2 : 4 + น้ำ = คอนกรีต ที่เหมาะกับงานถนน และ งานฐานราก

https://www.facebook.com/Anajaknaichang