อิฐมวลเบา ขนาด 1 ตรม.จะได้ทั้งหมดกี่ก้อน
อิฐมวลเบา ขนาด 1 ตรม. จะได้ทั้งหมดกี่ก้อน เมื่อเราได้มีโครงการในการก่อสร้างแล้วต้องการทึ่จะประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในเรื่องของ จำนวน ปริมาณต่าง ๆ เพื่อที่จะประมาณการไม่ให้ขาดไม่ให้เกิน ต้องมีความแม่นยำ วันนี้เราถึงได้นำข้อมูลอิฐมวลเบาขนาด 1 ตารางเมตรที่สามารถใช้ได้กี่ก้อน มาให้คุณได้ดูกัน
ตัวอย่าง
จะมีขนาดพื้นที่ที่ความสูงอยู่ประมาณ 3 เมตร จะมีความกว้างอยู่ที่ 2.5 เมตร
เอาความสูง x ความกว้าง ก็จะได้พื้นที่ ตรม. ( 3 x 2.5 = 7.5 ) ก็จะได้พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ตรม.
สำหรับอิฐมวลเบาแบบอบไอน้ำที่มีขนาด 20 x 60 ซม. 1 ตรม. จะใช้อิฐประมาณ 8.33 ก้อน ดังนั้น
7.5 x 8.33 = 62.47
ผนังจะมีขนาดอยู่ที่ 7.5 ตรม. จะต้องใช้มวลเบาประมาณ 63 ก้อน
การคำนวณวัสดุผนัง อิฐมวลเบา ขนาด 1 ตรม.
ผนังก่อมวลเบาจะต้องอยู่ประมาณที่จำนวน 8.33 ก้อน / ตรม.
-
ปูน ก่ออิฐมวลเบาสำเร็จรูป ขนาด 1 ถุง จะต้องมีน้ำหนักอยู่ที่ 50 กก. จะสามารถก่อได้อยู่ที่ 38 – 40 ตรม. ( แต่ต้องก่อหนาประมาณ 3 มม. )
- ปูนฉาบอิฐมวลเบาแบบสำเร็จรูปแบบ 1 ถุง จะมีน้ำหนัก 50 กก. จะสามารถฉาบได้อยู่ที่ 2 – 2.5 ตรม. ( แต่ต้องฉาบที่ความหนา 1 – 1.5 ซม. )
หลักการคำนวณวัสดุ ผนังก่ออิฐในการฉาบ
-
ผนังก่ออิฐในประเทศไทยนั้นจะมีอยู่ด้วยกันประมาณ 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่ อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา เพราะว่าในการคำนวณของวัสดุจะต้องยึดการก่อฉาบผนังให้มีความหนาอยู่ที่ 10 เซนติเมตร โดนจะต้องมีการคำนวณพื้นที่ของผนังก็จะ เท่ากับความสูงของผนังคูณกับความยาวของผนัง
อิฐมวลเบา ขนาด ประเภทของมวลเบา
จะมีมากมายหลากหลายประเภท ถ้าหากมองเพียงแค่ภายนอกก็แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย แต่แท้จริงแล้วอิฐมวลเบาแต่ละแบบจะใช้วัตถุดิบ และ กระบวนการผลิตที่ต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติของมวลเบาที่แตกต่างกัน ราคาก็มีความแตกต่างเหมือนกัน มวลเบาโดยทั่วไปอาจจะแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- มวลเบาที่ระบบไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง
ซึ่งจะแบ่งย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภท ก็คือ
- ประเภทแบบที่ 1 นำวัสดุที่เบากว่ามาทดแทนได้แก่ ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อน หรือแม้แต่เม็ดโฟม ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบายิ่งขึ้น แต่อาจจะมีอายุในการใช้งานที่สั้นแล้วเสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น และ ถ้าหากเกิดไฟไหม้ สารเหล่านี้อาจจะเป็นพิษต่อผู้อาศัย
- ประเภทแบบที่ 2 ใช้สารเคมี เพื่อให้มีเนื้อคอนกรีตที่ฟู และ ทิ้งให้มีการแข็งตัว คอนกรีตประเภทนี้นั้นจะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบมีรอยแตกร้าวได้งาน ไม่ค่อยมีความแข็งแรง คอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้นั้นส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีของปูนซีเมนต์ ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลึกสีขาว
- มวลเบาที่มีระบบไอน้ำภายใต้ความดันสูง
สามารถที่จะแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ก็คือ
- ประเภทแบบที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งมีการควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทำให้มีคุณภาพของคอนกรีตที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีการดูดน้ำที่มากกว่า
- ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 จะเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิต จะเป็นระบบที่ นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึกได้ในเนื้อคอนกรีต ทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง มีความทนทาน มากกว่าการผลิตในระบบอื่น ๆ อย่างมาก
หลักการคำนวณมวลเบา ต่อ 1 เลท
ถ้าหากเป็นความหนาที่ยอดนิยมจะเป็น 7.5 เซนติเมตร ซึ่งมวลเบาขนาด 1 พาเลท จะมีมวลเบาจำนวนเท่ากับ 200 ก้อน แต่ถ้าหากอยากจะดูขนาดอื่น ๆ เราก็จะมีตารางเปรียบเทียบต่อตรม. จะสามารถเปรียบเทียบได้ที่ตามตารางด้านล่างได้เลย
ปริมาณการบรรจุบนพาเลท |
||||
ความหนา (ซม.) |
กว้าง x ยาว (ซม.) |
ก้อน / ตร.ม. |
ก้อน / พาเลท |
ตร.ม./ พาเลท |
7.5 |
20 x 60 |
8.33 |
200 |
24 |
10 |
20 x 60 |
8.33 |
150 |
18 |
12.5 |
20 x 60 |
8.33 |
120 |
15 |
15 |
20 x 60 |
8.33 |
100 |
12 |
17.5 |
20 x 60 |
8.33 |
80 |
10 |
20 |
20 x 60 |
8.33 |
70 |
9 |
25 |
20 x 60 |
8.33 |
60 |
7 |
แต่ถ้าหากจะคำนวณแล้วว่าถ้าสั่งเป็นคันรถแล้วละก็จะได้กีพาเลท เราได้คำนวณมาให้เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากเป็นความหนาที่ 7.5 ซม. จะสามารถบรรทุกในรถได้
- รถบรรทุก 6 ล้อ = จะได้ 6 พาเลท หรือก็คือ 1,200 ก้อน / เที่ยว
- รถเทรลเลอร์ = จะได้ 20 พาเลท หรือก็คือ 4,000 ก้อน / เที่ยว
ข้อควรรู้หากต้องการซื้อมวลเบาเป็นคันรถในช่วงหน้าฝน
ในช่วงฤดูฝน หรือ ช่วงที่ฝนมีการตกอยู่บ่อย ๆ มวลเบาจะขนส่งได้ในปริมาณที่มีการลดลงเนื่องจากตัวมวลเบาอาจจะมีน้ำซึมทำให้มีน้ำหนักที่มากขึ้น
หาซื้อวัสดุโครงสร้าง หรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ ได้ที่ นายช่างกรุ๊ป
สีหรือปุ๋ยเราก็มีนะ เลือกซื้อสี
ความรู้วัสดุก่อสร้าง คลิกที่นี่
https://www.facebook.com/Anajaknaichang